วันจันทร์ที่ 11 มกราคม พ.ศ. 2559

การนับเลขประเทศกัมพูชา

การนับเลขประเทศกัมพูชา

ตัวเลข                       ภาษากัมพูชา 
1                                 มวย
2                                  ปี
3                                 ไบ
4                                บวน
5                                 ปรำ
6                               ปรำมวย
7                                ปรำปี
8                               ปรำไบ
9                             ปรำบวน
10                               ด็อบ
20                              มะไพ
30                           ซามเซิบ
40                             แซเซิบ
50                             ฮาเซิบ
60                             ฮกเซิบ
70                            เจดเซิบ
80                           แปดเซิบ
90                            กาวเซิบ
100                           มวยโรย


คำบอกรักประเทศกัมพูชา

คำบอกรักประเทศกัมพูชา

คำบอกรัก : บองสรันโอน


คำทักทายประเทศกัมพูชา

คำทักทายประเทศกัมพูชา
    

สวัสดีตอนเช้า         อรุณซัวซะเดย   อะ-รุน-ซัว-สะ-เดย

สวัสดีตอนเที่ยง   ทิวาซัวซะเดย ทิ-วา-ซัว-สะ-เดย

สวัสดีตอนบ่าย    ทิวาซัวซะเดย ทิ-วา-ซัว-สะ-เดย

สวัสดีตอนเย็น       ทิวาซัวซะเดย ทิ-วา-ซัว-สะ-เดย

ราตรีสวัสดิ์    ราไตรยซัวซะเดย รา-ไตร-ยะ-ซัว-ซะ-เดย

คุณสบายดีไหม ซกสะบายดี ซก-สะ-บาย-ดี

ฉันสบายดี ขอบคุณ ซกสะบายดี ออกุน ซก-สะ-บาย-ดี-ออ-กุน


ประเพณีประเทศกัมพูชา

เทศกาลงานประเพณีประเทศกัมพูชา
           
เทศกาลต่างๆในกัมพูชา
January 01: International วันขึ้นปีใหม่
January 07: ชัยชนะวันมากกว่าการทำลายชนชาติระบบการปกครอง
February 09: Meak Bochea วัน - พระพุทธพระธรรมเทศนา




March 08: วันสตรีสากล
14- 16 เมษายน: ปีใหม่กัมพูชา สามฉลองวันหลังจากสิ้นสุดการเก็บเกี่ยวเพื่อทำเครื่องหมายเปิดของปีใหม่ตามปฏิทินจันทรคติเขมร.บ้านทุกเห็นด้วยการตกแต่งที่น่าสนใจ.shrinesเต็มของอาหารและเครื่องดื่มให้เป็นไหว้พระเจ้า .. คนอื่นเข้าวัดพุทธที่เกมเดิมยังมีประสิทธิภาพ.รายละเอียดเพิ่มเติมเกี่ยวกับเขมร New Year.
อาจ 01: วันแรงงานระหว่างประเทศ
อาจ 08: Visaka Bochea วัน - วันเกิดของพระพุทธเจ้า
พฤษภาคม 12: พิธี Royal Ploughing เป็นวัฒนธรรมโด่งดังแจ้งชนของเริ่มของฤดูฝนและเกษตรกรจะพร้อมสำหรับการเพาะปลูกข้าวโดยเริ่มไถ. สถานที่เป็นสนามที่ปีกของ Royal Palace, พนมเปญ. ฉากน่าสนใจตาม depicts กิจกรรม ploughing จริงที่ cows จะมีความหลากหลายของพืชกิน. ตามทางเลือกของพืชกินโดย cows, ทำนายจะทำให้ปีมา.

13-15 พฤษภาคม: วันเกิดของพระ Sihamonyระหว่างวันเกิดของพระแสดงดอกไม้เพลิงยักษ์จะจัดขึ้นใกล้ riverbanks หน้าพระบรมมหาราชวัง.
มิถุนายน 18: พระวันเกิดของพระบาทสมเด็จพระนโรดมแม่ Monineath Sihanouk
กันยายน 24: วันรัฐธรรมนูญ
18-20 กันยายน: Pchum Ben วัน - โซลวันเทศกาลทางศาสนาเพื่อให้ศีลให้พรวิญญาณของปู่ตา, ญาติและเพื่อนเหมือนกันที่ได้ล่วงลับไป. สมาชิกในครัวเรือนเข้าวัดพุทธ.
ตุลาคม 29: พระฉัตรมงคลของสมเด็จ Sihamoni
ตุลาคม 31: Sihanouk วันเกิดของพระบิดานโรดม
พฤศจิกายน 09: วันประกาศอิสรภาพ
01-03 พฤศจิกายน: Water Festival ไม่เพียงแต่มันเครื่องหมายการไหลย้อนกลับของมากมายในอดีตSAP แม่น้ำแต่ยัง ushers ในฤดูประมง. เน้นของเหตุการณ์คือการแข่งเรือกว่าสามวัน. เป็นคืนต่ำ, พลุไฟฟ้าและกองเรือเล็กลงเรือใบตามเดือนเต็มผู้ worships ครัวเรือน. นักวิเคราะห์บางคนกล่าวฉลองยังขอบใจที่แม่น้ำโขงเพื่อให้ประเทศมีที่ดินอุดม. ผู้คนจากทุกเดินชีวิตรวมในธนาคารของแม่น้ำโขงวันและคืน.
December 02: อังกอร์ครึ่งมาราธอน มาราธอนครึ่ง International. จัดขึ้นที่มีชื่อเสียงของโลกนครวัดกิจกรรมที่ดึงดูดคู่แข่งจากทั่วโลกมีหลายพันชมและแปลกใจนครวัดจะถูกตั้งค่างดงาม.
ธันวาคม 10: International Human Right
วันกลางเดือนธันวาคม:เทศกาลอังกอร์เทศกาลจะแสดงในศิลปะการแสดงกับนครวัดเป็นฉากหลัง. ศิลปินจากทั่วเอเชียเข้าร่วมเทศกาลประสิทธิภาพเรื่องราวมหากาพย์อันยิ่งใหญ่จากเหลือเชื่อและ Legends รวมถึงรามเกียรติ์ให้กับตัวเองชาติเต้นรำเครื่องแต่งกายและดนตรีและจังหวะนี้แปล. อดีต King Sihanouk มักจะเข้าเมื่อเขาอยู่ในถิ่นที่อยู่ในเสียมเรียบและ dignitaries อื่นๆมา พยานนี้ปรากฏการณ์มหัศจรรย์.

                                                                ประเพณีประเทศกัมพูชา

ระบำอัปสรา (apsara dance)
ระบำอัปสรา (apsara dance) เป็นการแสดงของประเทศกัมพูชา ซึ่งเกิดได้จากภาพจำหลักของนางอัปสรทั้งหลายที่ปรากฏบนปราสาทหินในประเทศกัมพูชา โดยเฉพาะภาพจำหลักนางอัปสรที่นครวัด โดยภาพจำหลักรอบๆปราสาทนครวัดเป็นรูปนางอัปสรร่ายรำในท่าทางที่ต่างๆกัน ย่อมแสดงให้เห็นถึงศิลปะการร่ายรำของเขมรนั้นมีมายาวนาน เคียงคู่อยู่กับตัวปราสาทที่สง่างาม
             




บุญอมตูก
บุญอมตูก (เขมร: ពិធី​បុណ្យ​អុំ​ទូក) เป็นเทศกาลน้ำของกัมพูชา เป็นประเพณีที่จัดขึ้นทุกปีในเดือนพฤศจิกายน ทุกจังหวัดและทุกเมืองทั่วประเทศจัดงานเฉลิมฉลองเทศกาลดังกล่าวโดยมีการเฉลิมฉลองใหญ่ที่สุดจัดขึ้นในพนมเปญ เมืองหลวงของประเทศ บุญอมตูกกินระยะเวลาสามวัน จัดขึ้นเพื้อระลึกถึงการสิ้นสุดของฤดูฝน เช่นเดียวกับการเปลี่ยนทิศทางการไหลของแม่น้ำตนเลสาบ นอกจากนี้ยังมีการจัดการแข่งเรือและคอนเสิร์ต ซึ่งดึงดูดหลายล้านคนให้เข้าร่วมเฉลิมฉลองด้วย

การแข่งเรือในเทศกาลดังกล่าวเป็นประเพณีซึ่งมีอายุมากกว่าหนึ่งพัน เพื่อระลึกถึงอำนาจของจักรวรรดิขะแมร์ในสมัยโบราณ

บุญอมตูกมีที่มาจากอาณาจักรเมืองพระนคร เมื่อพระมหากษัตริย์ทรงปรารถนาจะทดสอบความองอาจด้านการต่อสู้ของนักรบ โดยจัดการแข่งขันขึ้น การแข่งเป็นรูปแบบหนึ่งของการฝึกฝนและเป็นวิธีการซึ่งพระมหากษัตริย์ทรงเลือกนักรบของพระองค์ วิธีการดังกล่าวคล้ายคลึงกับการจัดการประลองยุทธ์ของอัศวินในสมัยกลางของยุโรป



แหล่งท่องเที่ยวประเทศกัมพูชา

แหล่งท่องเที่ยวประเทศกัมพูชา

   สถานที่ท่องเที่ยวที่น่าสนใจ
ศิลปะขอมโบราณ บายน นครวัด
• ศิลปะแบบนครวัด (พ.ศ.1650-1718) ศิลปะนครวัด ส่วนใหญ่จะเป็นรูปภาพของการเล่าเรื่องราว แต่จะไม่มีลวดลายของพรรณไม้ บริเวณตรงกลางภาพจะมีขนาดเล็กและมีรูปสัตว์ใหญ่ๆได้แก่ หงส์ นาค ใช้แทนที่ลายหน้ากาล ได้แก่ ปราสาทบึงมาลา ปราสาทนครวัด ปราสาทเจ้าสายเทวดา ปราสาทเขาพระวิหาร ปราสาทพนมจิสอ ประเทศไทยพบเห็นศิลปะแบบนี้ได้ที่ ปราสาทปรางค์กู่ จังหวัดศรีสะเกษ ปราสาทศรีขรภูมิ จังหวัดสุรินทร์ และปราสาทหินพิมาน จังหวัดนครราชสีมา
• ศิลปะแบบบายน (พ.ศ.1720-1780) ศิลปะแบบนี้มีลักษณะที่พิเศษ ได้แก่ มีภาพจำหลักที่ส่วนมากจะเป็นเรื่องราวของประวัติศาสตร์ ภาพของชีวิตทั่วๆไป ได้แก่ ปราสาทนาคพัน ปราสาทตาพรหม ปราสาทบันทายกุฎี ปราสาทบายน ปราสาทฉมาร์ ปราสาทพระขรรค์ ปราสาทตาสม และปราสาทตาเนี๊ยะ ประเทศไทยพบเห็นศิลปะแบบนี้ได้ที่ ปราสาทตาเหมือน จังหวัดสุรินทร์ ปราสาทโคกปราสาท จังหวัดบุรีรัมย์ ปราสาทเมืองสิงห์ จังหวัดกาญจนบุรี ปราสาทปรางค์สามยอด จังหวัดลพบุรี กำแพงวัดพระศรีรัตนมหาธาตุ จังหวัดราชบุรี พระปรางค์วัดกำแพงแลง จังหวัดเพชรบุรี พระปรางค์วัดพระพายหลวง จังหวัด



สีหนุวิลล์ เมืองท่าตากอากาศและท่าเรือน้ำลึกแห่งเดียวของกัมพูชา
สีหนุวิลล์ (Sihanoukville) เป็นจังหวัดเล็กๆทางตอนใต้ของประเทศกัมพูชา และยังเป็นอีกเมืองท่าที่มีความสำคัญทางด้านเศรษฐกิจและการท่องเที่ยวของประเทศกัมพูชา โดยแต่เดิมเมืองท่าแห่งนี้รู้จักกันในนาม "เมืองกัมปงโสม" ซึ่งเป็นท่าเรือน้ำลึกแห่งเดียวของประเทศ และยังเป็นถึงเมืองพักตากอากาศชื่อดังอีกแห่งหนึ่งของประเทศกัมพูชาอีกด้วยค่ะ
สำหรับใครที่อยากไปเที่ยวเมืองท่าสีหนุวิลล์ คงอยากจะทราบว่ามีอะไรน่าสนใจบ้าง แน่นอนว่าคุณอาจเริ่มต้นที่ หาดOccheuteal และ หาดSerendipity และหาดอื่นๆอีกมามายหลายหาด ซึ่งคุณจะสนุกสนานไปกับกิจกรรมต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นทางบกอย่างการเดินชมหาด และกิจกรรมทางน้ำ อาทิเช่น การดำน้ำ, ตกปลา,พายเรือคายัค และล่องเรือ


หาด  Ream National Park
ปัจจุบันมีนักท่องเที่ยวชาวตะวันตกเดินทางมาท่องเที่ยวเป็นจำนวนมาก เนื่องจากมีเกสท์เฮาส์ กระท่อม หรือบ้านพักต่างๆก็มีไว้คอยบริการนักท่องเที่ยวมากมาย
นอกจากการเที่ยวชมเมืองท่าแล้ว ไกลออกไปประมาณ 18 กิโลเมตร คุณยังสามารถมาเที่ยว อุทยานแห่งชาติ Ream National Park ซึ่งมีลักษณะคล้ายๆกับซาฟารี ที่ที่คุณจะได้พบกับความน่ารักของบรรดาสัตว์ป่า กวางมูส, ตัวนิ่ม และปลาโลมาพันธุ์หายากอย่าง ปลาโลมาเผือก ซึ่งจะมีให้เห็นเฉพาะช่วงเดือนธันวาคม – กุมภาพันธ์เท่านั้น



โตนเลสาบ ทะเลสาบเขมร
ประเทศกัมพูชามีทะเลสาบน้ำจืดซึ่งเกิดจากแม่น้ำโขงขนาดใหญ่ที่สุดในเอเชียชื่อว่า “โตนเลสาป” (Tonle Sap) มีแม่น้ำโขงไหลผ่านยาว 500 กิโลเมตร จากนั้นไหลเข้าสู่เวียดนามลงสู่ทะเลจีนใต้ นับว่าเป็นแม่น้ำนานาชาติ และเชื่อกันว่าปลาบึกซึ่งเป็นปลาน้ำจืดที่ใหญ่ที่สุดในโลกว่ายทวนน้ำจากโตนเลสาบขึ้นสู่ประเทศไทย-ลาว ก่อนไปผสมพันธุ์ที่จีนซึ่งเป็นต้นแม่น้ำโขง


ชุดแต่งกายประเทศกัมพูชา

ชุดแต่งกายประเทศกัมพูชา

   ชุดประจำชาติกัมพูชา
ชุดประจำชาติของกัมพูชาคือ ซัมปอต (Sampot) หรือผ้านุ่งกัมพูชา ทอด้วยมือ มีทั้งแบบหลวม
 และแบบพอดีคาดทับเสื้อบริเวณเอว ผ้าที่ใช้มักทำจากไหมหรือฝ้าย หรือทั้งสองอย่างรวมกัน 
     ซัมปอตสำหรับผู้หญิงมีความคล้ายคลึงกับผ้านุ่งของประเทศลาวและไทย ทั้งนี้ ซัมปอดมีหลาย
แบบจะแตกต่างกันไปตามชนชั้นทางสังคมของชาวกัมพูชา ถ้าใช้ในชีวิตประจำวันจะใช้วัสดุราคาไม่สูง
ซึ่งจะส่งมาจากประเทศญี่ปุ่นนิยมทำลวดลายตามขวาง ถ้าเป็นชนิดหรูหราจะทอด้ายเงินและด้าย


เงินเดือน ค่าแรงขั้นต่ำของประเทศกัมพูชา

เงินเดือน ค่าแรงขั้นต่ำของประเทศกัมพูชา

   ประเทศกัมพูชาไม่มีการกำหนดอัตราค่าจ้างขั้นต่ำ
ประเทศกัมพูชาไม่มีการกำหนดอัตราค่าจ้างขั้นต่ำ ยกเว้นในกลุ่มอุตสาหกรรมสิ่งทอที่มีการกำหนดค่าจ้างขั้นต่ำที่ 45 ดอลลาร์สหรัฐต่อเดือน(ตั้งแต่ 1 พฤษภาคม พ.ศ.2551 ปรับเป็น 51 ดอลลาร์สหรัฐต่อเดือนสำหรับระยะฝึกงานและ 50 ดอลลาร์สหรัฐต่อเดือนเมื่อผ่านการฝึกงาน) และนับตั้งแต่เดือนพฤษภาคม พ.ศ.2556 ก็ปรับเพิ่มเป็น 80-90 ดอลลาร์สหรัฐ แต่ปัจจุบันรายได้ต่อหัวอยู่ที่ 110 ดอลลาร์สหรัฐ การกำหนดค่าจ้างขั้นต่ำในอุตสาหกรรมอื่นๆ ให้เป็นไปในแนวทางที่สนับสนุนการครองชีพประจำวัน และต้องเป็นไปเพื่อเหตุผลทางมนุษยธรรม โดยทั่วไปอัตราค่าจ้างในกัมพูชากำหนดในสกุลเงินดอลลาร์สหรัฐ ดังนี้
อัตราค่าจ้างในกัมพูชา

   อัตราค่าจ้างต่อเดือน(US$) ประเภทของแรงงาน
50-60 แรงงานหนัก เช่น กรรมกรแบกหามคนงานก่อสร้าง
100-150 ลูกจ้างทั่วไป เช่น คนขับรถ พนักงานขายของ พนักงานส่งของ
150-300 เจ้าหน้าที่ประจำสำนักงาน
800-1,000 เจ้าหน้าที่บริหารระดับต้น 


ประวิติศาสตร์ประเทศกัมพูชา

   ประวิติศาสตร์ประเทศกัมพูชา

 


บริเวณที่เป็นที่ตั้งของกัมพูชาในปัจจุบัน นักประวัติศาสตร์สันนิฐานว่าเริ่มมีผู้คนเข้ามาตั้งถิ่นฐานอาศัยอยู่ตั้งแต่ยุคก่อนประวัติศาสตร์ (230-500 ปีก่อนคริสตกาล) โดยอาศัยหลักฐานเก่าแก่ คือ เครื่องมือหินกรวดที่ค้นพบทางภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และการค้นพบกระโหลกศีรษะและกระดูกมนุษย์ที่แหล่งโบราณคดีสำโรงเซน (Samrong Sen) ซึ่งเป็นสิ่งที่ชี้ให้เห็นว่ากัมพูชาในยุคก่อนประวัติศาสตร์มีความคล้ายคลึงกับชาวกัมพูชาในปัจจุบัน ซึ่งจัดอยู่ในกลุ่มออสโตรเอเชียติก (Astroasiatic)

   ประวัติศาสตร์ความเป็นมาของกัมพูชา
  ประเทศกัมพูชามีหลักฐานทางโบราณคดีว่ามีมนุษย์อาศัยอยู่อย่างต่อเนื่องมาตั้งแต่สมัยก่อนประวัติศาสตร์ เป็นดินแดนต้นกำเนิดของอาณาจักรโบราณหลายอาณาจักร ที่มีความเชื่อมโยงและมีความเป็นมาในประวัติศาสตร์ โดยแบ่งออกเป็นสมัยที่สำคัญ คือ

   สมัยฟูนัน (Funan) เป็นห้วงเวลาที่ได้รับวัฒนธรรมจากศาสนาพราหมณ์ฮินดู ประเทศอินเดีย เมื่อประมาณพุทธศตวรรษที่ 6 นับถือพระศิวะ และพระวิษณุ (พระนารายณ์) มีการดัดแปลงตัวอักษรของอินเดียมาเป็นตัวอักษรเขมร ศูนย์กลางความเจริญอยู่ที่มณฑล  ไปรเวียงทางตอนใต้และลุ่มน้ำทะเลสาป รวมดินแดนที่เป็นของไทย สปป.ลาว และเวียดนาม ในปัจจุบันบางส่วน ส่วนพลเมืองมีเผ่าฟูนัน เขมร และจามซึ่งมีอยู่ทั่วไปในบริเวณตอนใต้ของลุ่มแม่น้ำโขง

   สมัยเจนละ (พ.ศ.1078-1345) ในระหว่างที่อาณาจักรฟูนันมีความเจริญรุ่งเรืองอยู่นั้น มีดินแดนที่เป็นเมืองขึ้นอยู่อาณาจักรหนึ่งซึ่งขอมเรียกว่า อาณาจักรเจนละ ชื่อ "กัมพูชา" เริ่มในยุคนี้เนื่องจากกษัตริย์สมัยเจนละ ชื่อว่า "กัมพู" อาณาจักรเจนละแบ่งดินแดนออกเป็นอาณาจักรย่อยๆ คือ อาณาจักรตอนเหนือชื่อ "กุมพูปุระ" อาณาจักรตอนใต้ชื่อ "วิชัยปุระ" ต่อมากษัตริย์ของกัมพูปุระองค์หนึ่งทำสงครามมีชัยชนะ แล้วส่งกองทัพไปตีอาณาจักรฟูนันได้สำเร็จ จึงรวมเข้ามาอยู่ในอาณาจักรเจนละ
   อาณาจักรเจนละเจริญรุ่งเรืองอยู่ระยะหนึ่ง ต่อมาอาณาจักรศรีวิชัยได้แผ่อำนาจเข้าไปในอินโดจีน อาณาจักรเจนละจึงตกเป็นเมืองขึ้นของอาณาจักรศรีวิชัย
สมัยขอมหรือนครวัด (พ.ศ.1345-1735) เมื่อประมาณ พ.ศ.1345 กษัตริย์กัมพูปุระองค์หนึ่งทรงพระนามว่า "พระเจ้าชัยวรมันที่ 2" ครองราชย์อยู่ระหว่าง พ.ศ.1345-1412 ได้รวบรวมอาณาจักรกัมพูปุระและวิชัยปุระเข้าด้วยกัน ตั้งเป็นอาณาจักรใหม่เรียกว่า "อาณาจักรขอม"

พระองค์ได้กู้อิสรภาพของอาณาจักรขอมจากอาณาจักรศรีวิชัยเป็นผลสำเร็จ พระองค์ทรงเป็นกษัตริย์ที่ตั้งอาณาจักรขอมและมีอำนาจมากสามารถแผ่กระจายอำนาจออกไปจนทำให้อาณาจักรขอมแผ่ขยายออกไปกว้างขวางกินพื้นที่ถึงหนึ่งในสามของอินโดจีนเป็นระยะเวลาประมาณ 400 ปี ราชวงศ์ของพระเจ้าชัยวรมันที่ 2 ได้ครองอาณาจักรขอมจนถึงปี พ.ศ.1420 จึงได้ขาดสายลง และได้มีราชวงศ์ใหม่

โดยมีปฐมราชวงศ์ คือ พระเจ้าอินทรวรมันที่ 1 มีราชโอรสเป็นพระเจ้ายโศวรมันที่ 1 ครองราชย์ระหว่างปี พ.ศ.1432-1451 กษัตริย์องค์นี้ได้สร้างราชธานีขึ้นใหม่ที่นครธมต่อมาได้มีกษัตริย์อีกหลายราชวงศ์ จนถึงพระเจ้าสุริยวรมันที่ 2 ซึ่งครองราชอยู่ระหว่างปี พ.ศ.1655-1695 เป็นกษัตริย์ที่มีอำนาจสูงสุดในประวัติศาสตร์ขอม พระองค์ได้ทรงให้สร้างนครวัด และทำสัญญาไมตรีกับจามและจีน

   สมัยเป็นเมืองขึ้นของเมียนมาและไทย (พ.ศ.1600-2410) อาณาจักรขอมรุ่งโรจน์สูงสุด แล้วก็ค่อยๆ เสื่อมอำนาจลง เนื่องจากถูกเมียนมาสมัยพระเจ้าอโนรธามังช่อเข้ามารุกรานและยึดเป็นเมืองขึ้น ซึ่งในห้วงเวลาดังกล่าว อาณาจักรขอมยังไม่ยับเยินมากนัก ยังพอตั้งตัวได้ใหม่ในระยะอีกเกือบประมาณร้อยปี

ต่อมาจนถึงสมัยพ่อขุนรามคำแหงมหาราชของไทย ขอมถูกขับไล่ออกจากดินแดนที่เป็นของประเทศไทยในปัจจุบันได้หมด อำนาจของอาณาจักรขอมได้หมดลงประมาณปี พ.ศ.1890 นับแต่นั้นมาอาณาจักรสยามก็รุ่งโรจน์ขึ้นแทนอาณาจักรขอมในดินแดนสุวรรณภูมิ
 
   สมัยตกเป็นเมืองขึ้นของฝรั่งเศส (พ.ศ.2400-2497) อาณาจักรกัมพูชาได้เสื่อมลงเป็นลำดับ จนตกเป็นประเทศราชของไทย ต่อมาฝรั่งเศสได้เข้ามารุกรานและแสวงเมืองขึ้นอินโดจีน กัมพูชาได้ตกเป็นเมืองขึ้นของฝรั่งเศสเมื่อปี พ.ศ.2406 กัมพูชาถูกควบคุมทั้งในด้านเศรษฐกิจ การเมือง สังคม และวัฒนธรรม ในปี พ.ศ.2407 รัชกาลสมเด็จพระนโรดมบรมรามเทวาวตารได้ทรงย้ายราชธานีของกัมพูชาจากกรุงอุดงค์มีชัยมาตั้งอยู่ที่กรุงพนมเปญ ต่อมาในปี พ.ศ.2410 ฝรั่งเศสได้บีบบังคับให้ไทยทำสัญญายินยอมรับรองอำนาจของฝรั่งเศสในการคุ้มครองอารักขากัมพูชา
 หลังสงครามมหาเอเชียบูรพาเมื่อปี พ.ศ.2488 ฝรั่งเศสกับกัมพูชาได้ทำความตกลงเมื่อปี พ.ศ.2489 ให้กัมพูชาปกครองดินแดนตนเอง โดยรวมอยู่ในสหภาพฝรั่งเศส กัมพูชาได้จัดตั้งสภาร่างรัฐธรรมนูญเมื่อปี พ.ศ.2490
   เมื่อปี พ.ศ.2497 ฝรั่งเศสปราชัยในการรบกับเวียดมินห์ ที่เมืองเดียนเบียนฟู เป็นเหตุให้ต้องเปิดการประชุม 14 ชาติ ที่เมืองเจนีวา เพื่อนำสันติภาพมาสู่อินโดจีน ความตกลงเจนีวาในครั้งนั้นกำหนดให้ฝรั่งเศสมอบเอกราชแก่เวียดนาม สปป.ลาว และกัมพูชา กัมพูชาจึงได้เป็นเอกราชอย่างสมบูรณ์ โดยมีสมเด็จพระนโรดมสีหนุทรงเป็นกษัตริย์ในช่วงรอยต่อของประวัติศาสตร์
   ครั้งถึง ปี พ.ศ.2498 ทรงสละราชสมบัติ แต่ยังกุมอำนาจไว้ในฐานะนายกรัฐมนตรี ประมุขของประเทศ และประธานาธิบดีในปี พ.ศ.2513 นายพลลอน นอล ก่อรัฐประหาร สมเด็จพระนโรดมสีหนุต้องเสด็จลี้ภัยไปยังปักกิ่ง และได้ร่วมเป็นพันธมิตรกับคอมมิวนิสต์เขมรแดง เมื่อรัฐบาลเขมรแดงยึดอำนาจได้ในปี พ.ศ.2518 จึงทรงเสด็จกลับคืนสู่พนมเปญ แต่พระองค์กลับถูกพันธมิตรกักตัวไว้ หลังเวียดนามขับไล่รัฐบาลเขมรแดงออกไปในปี พ.ศ.2522 พระองค์ทรงตั้งตนเป็นประธานาธิบดีพลัดถิ่นของแนวร่วมต่อต้านเวียดนาม ทรงใช้เวลาส่วนใหญ่อยู่ในประเทศจีนและเกาหลีเหนือ
    สงครามในกัมพูชาที่เรียกว่า "สงครามเขมรสามฝ่าย" ได้ยุติลงจนสหประชาชาติเข้าไปช่วยเหลือจัดการเลือกตั้งในเดือนพฤษภาคม พ.ศ.2536 ซึ่งพรรคของสมเด็จพระนโรดม รณฤทธิ์ ชนะเลือกตั้งแต่ทางฝ่ายสมเด็จฮุน เซน ไม่ยอมรับ แต่ในที่สุดก็เกิดการประนีประนอมตั้งรัฐบาลร่วมกัน ประเทศกัมพูชาจึงเป็นประเทศแรกในโลกที่มีหนึ่งรัฐบาลแต่มีสองนายกรัฐมนตรี คือ สมเด็จกรมพระนโรดม รณฤทธิ์ และสมเด็จ ฮุน เซน เป็นนายกรัฐมนตรีร่วมกัน ซึ่งปัจจุบันสมเด็จฮุน เซน ยังคงเป็นนายกรัฐมนตรีของกัมพูชา







สกุลเงินของประเทศกัมพูชา

สกุลเงินของประเทศกัมพูชา

สกุลเงิน : เรียลกัมพูชา


อาหารประเทศกัมพูชา

อาหารประเทศกัมพูชา

อาม็อก (Amok)
      
   อาม็อก (Amok) อาหารยอดนิยมของกัมพูชา ลักษณะคล้ายห่อหมกของไทย โดยมากแล้วนิยม
ปรุงเนื้อปลาลวกด้วยพริกเครื่องแกงและกะทิ แล้วทำให้สุกโดยการนำไปนึ่ง บางตำรับอาจใช้เนื้อไก่หรือ
หอยแทน สาเหตุหนึ่งที่คนในประเทศนี้นิยมรับประทานปลา เพราะเป็นอาหารที่หาได้ง่าย เนื่องจากสภาพภูมิประเทศที่มีแหล่งน้ำขนาดใหญ่อยู่ตรงกลาง






สตูว์ไก่เขมร (Ragu sach moan)

  สตูว์ไก่เขมร (Ragu sach moan) สตูว์ไก่เขมรได้รับอิทธิพลจากฝรั่งเศส มีรสชาติอร่อยและทำง่าย เป็นหนึ่งในอาหารที่ได้รับความนิยมในโอกาสใหญ่ เช่นงานแต่งงาน หรืองานเลี้ยงรวมญาติ


ตราสัญลักษณ์ประเทศกัมพูชา

ตราสัญลักษณ์ประเทศกัมพูชา


      ตราแผ่นดินของกัมพูชา เป็นรูปฉลองพระองค์ครุยคลุมพานแว่นฟ้า อัญเชิญพระแสงขรรค์และเครื่องหมายอุณาโลมภายใต้พระมหามงกุฎเปล่งรัศมี มีลายช่อต่อออกมาจากกรรเจียกจรทั้งสองข้าง รูปดังกล่าวอยู่เหนือรูปดาราของเครื่องราชอิสริยาภรณ์แห่งกัมพูชา (Royal Order of Cambodia) และมีรูปลายก้านขดอยู่ใต้รูปฉลองพระองค์ครุยอีกชั้นหนึ่ง ถัดมาทางด้านข้างทั้ง 2 ด้านขนาบด้วยรูปฉัตร 5 ชั้น ซึ่งประคองโดยคชสีห์ทางด้านซ้าย และราชสีห์ทางด้านขวา เบื้องล่างสุดของรูปทั้งหมดเป็นแพรแถบแสดงข้อความว่า "พระเจ้ากรุงกัมพูชา" ด้วยอักษรเขมรแบบอักษรมูล







ศาสนาของประเทศกัมพูชา

ศาสนาของประเทศกัมพูชา
 
มีผู้นับถือศาสนาพุทธเถรวาท ร้อยละ 95 นับถือ ศาสนาอิสลาม ร้อยละ 3 นับถือศาสนาคริสต์ ร้อยละ 1.7 นับถือศาสนาพราหมณ์-ฮินดู ร้อยละ 0.3



เชื้อชาติของประเทศกัมพูชา


ลักษณะประชากรกัมพูชา
  ปัจจุบันประเทศกัมพุูชามีประชากรถึง 14.4 ล้านคน ประกอบไปด้วยชนหลายเชื้อชาติ ซึ่งแยกออกได้เป็น เชื้อสายกัมพุูชา ร้อยละ 96 มุสลิม ร้อยละ 2.2 เวียดนาม ร้อยละ 0.49 จีน ร้อยละ 0.2 ที่เหลือเป็นชน กลุ่มน้อยหรือชาวเขา รวม 17 เผ่า
  ทั้งนี้โครงสร้างหลักของชาวกัมพูชา คือ ภาคเกษตรกรรมประมาณร้อยละ 70 ภาคบริการประมาณร้อยละ 17 ภาคอุตสาหกรรมโรงงานประมาณร้อยละ 8 และภาคการก่อสร้างประมาณร้อยละ 5 ชาวกัมพูชาประกอบอาชีพเกษตรกรรมเป็นอาชีพหลัก
พืชที่ปลูกส่วนใหญ่ ได้แก่ ข้าวเจ้า ยางพารา พริกไทย ซึ่งส่วนใหญ่จะปลูกบริเวณที่ราบภาคกลางรอบทะเลสาบกัมพุูชา รองลงมาคือ ประมง โดยบริเวณรอบทะเลสาบกัมพูชาเป็นแหล่งประมงน้ำจืดที่สำคัญที่สุดในภูมิภาคมีการทำป่าไม้บริเวณเขตภูเขาทางภาคเหนือโดยล่องมาตามแม่น้ำโขงอุตสาหกรรมในประเทศเป็นอุตสาหกรรมขนาดย่อม ส่วนใหญ่เป็นโรงสีข้าวและทำรองเท้า

ภาษาราชการประเทศกัมพูชา

ภาษาราชการประเทศกัมพูชา
ภาษา : ภาษาเขมรเป็นภาษาราชการ ส่วนภาษาที่ใช้โดยทั่วไป ได้แก่ ภาษาอังกฤษ ภาษาฝรั่งเศส ภาษาเวียดนาม ภาษาไทย และภาษาจีน

ระบบการปกครงของประเทศกัมพูชา

ระบบการปกครงของประเทศกัมพูชา

   กัมพูชามีการปกครองระบอบประชาธิปไตย โดยมีพระมหากษัตริย์เป็นประมุขภายใต้รัฐธรรมนูญ พระมหากษัตริย์องค์ปัจจุบันคือ พระบาทสมเด็จพระบรมนาถนโรดม สีหมุนี ขึ้นครองราชย์เมื่อวันที่14 ตุลาคม 2547 และมีนายกรัฐมนตรีเป็นผู้นำประเทศคือ สมเด็จฮุน เซน โดยดำรงตำแหน่งวาระละ 5 ปี
   พรรคการเมืองสำคัญมี 3 พรรค ได้แก่ พรรคประชาชนกัมพูชา (Cambodian People’s Party: CPP) หัวหน้าพรรคคือ สมเด็จเจีย ซิม รองหัวหน้าพรรคคือ สมเด็จฮุน เซน พรรคฟุนซินเปค (National United Front for an Independent, Neutral, Peaceful and Cooperative Cambodia: FUNCINPEC) หัวหน้าพรรคคือ นายเชียว พุธ รัศมี และพรรคสม รังสี (Sam Rainsy Party: SRP) หัวหน้าพรรคคือ นายสม รังสี ทั้งนี้ พรรคประชาชนกัมพูชา (Cambodian People’s Party: CPP) สามารถจัดตั้งรัฐบาลได้พรรคเดียวทำให้สมเด็จฮุน เซน เป็นนายกรัฐมนตรีต่อไปอีกสมัย

จำนวนประชากรของประเทศกัมพูชา

จำนวนประชากรของประเทศกัมพูชา
 ประชากร กัมพูชามีประชากรประมาณ 11 ล้านคน ครึ่งหนึ่งของประชากรทั้งประเทศอายุต่ำกว่า 19 ปีเนื่องมาจากสงครามล้างเผ่าพันธุ์ 


พื้นที่ประเทศกัมพูชา

พื้นที่ประเทศกัมพูชา

ประเทศกัมพูชา
• ภูมิศาสตร์ : กัมพูชา มีพื้นที่ประมาณ 181,035 ตารางกิโลเมตร มีส่วนที่กว้างที่สุดจากทิศตะวันออกไปทิศตะวันตก 580 กิโลเมตร จากเหนือจรดใต้ 450 กิโลเมตร
อาณาเขตติดต่อ
• ทิศเหนือ ติดกับประเทศลาวและประเทศไทย
• ทิศใต้ ติดกับทะเลอ่าวไทย
• ทิศตะวันออก ติดกับประเทศเวียดนาม
• ทิศตะวันตก ติดกับทะเลอ่าวไทยและประเทศไทย
• กัมพูชา มีทะเลสาบน้ำจืดซึ่งเกิดจากแม่น้ำโขงขนาดใหญ่ที่สุดในเอเชียชื่อว่า “โตนเลสาบ” (Tonle Sap) มีแม่น้ำโขงไหลผ่านยาว 500 กิโลเมตร จากนั้นไหลเข้าสู่เวียดนามลงสู่ทะเลจีนใต้ นับว่าเป็นแม่น้ำนานาชาติ และเชื่อกันว่าปลาบึกซึ่งเป็นปลาน้ำจืดที่ใหญ่ที่สุดในโลกว่ายทวนน้ำจากโตนเลสาปขึ้นสู่ประเทศไทย-ลาว ก่อนไปผสมพันธุ์ที่จีนซึ่งเป็นต้นแม่น้ำโขง
• โตนเลสาป อยู่ห่างจากกรุงพนมเปญประมาณ 100 กิโลเมตร ฤดูน้ำหลากน้ำท่วมถึง 7,500 ตารางกิโลเมตร ลึกถึง 10 เมตร โตนเลสาปครอบคลุมพื้นที่ 5 จังหวัด ได้แก่ กำปงธม กำปงซะนัง โพธิสัตว์ พระตะบอง และเสียมเรียบ ในโตนเลสาบมีปลาชุกชุมกว่า 300 ชนิด
• ภูเขา ยอดเขาสูงที่สุดของกัมพูชาคือ พนมอาออรัล สูงจากระดับน้ำทะเลปานกลาง 1,813 เมตรทิศเหนือของกัมพูชามีเขตแดนติดกับประเทศไทยระยะทางยาว 750 กิโลเมตร ติดกับจังหวัดอุบลราชธานี ศรีสะเกษ สุรินทร์ บุรีรัมย์ สระแก้ว จันทบุรี ตราด โดยมีเทือกเขาพนมดงรัก และเทือกเขาบรรทัดกั้น
• ป่าไม้ กัมพูชาเป็นประเทศที่มีป่าไม้อุดมสมบูรณ์มากที่สุดหากเปรียบเทียบกับประเทศเพื่อนบ้าน ปัจจุบันป่าไม้ลดลงอย่างมากหลังจากที่รัฐบาลเปิดให้สัมปทานป่ากับบริษัทเอกชนจากประเทศ อินโดนีเซีย มาเลเซีย และญี่ปุ่น
• ภูมิอากาศ เป็นแบบร้อนชื้นแถบมรสุม 
• ฤดูฝน เริ่มจากเดือนพฤษภาคม-ตุลาคม (เดือนตุลาคมมีฝนตกชุกที่สุด)
• ฤดูแล้ง เริ่มจากเดือนพฤศจิกายน-เมษายน (เดือนเมษายนมีอุณหภูมิสูงสุดที่สุดและเดือนมกราคมมีอุณหภูมิต่ำที่สุด) 

เมืองหลวงของประเทศกัมพูชา

เมืองหลวงของประเทศกัมพูชา

  เมืองหลวง : พนมเปญ
   พนมเปญ (เขมร: ភ្នំពេញ ภฺนํเพญ ออกเสียงว่า พนุมปึญ; อีกชื่อหนึ่งคือ ราชธานีพนมเปญ; อังกฤษ: Phnom Penh  เป็นเมืองหลวงของประเทศกัมพูชา และยังเป็นเมืองหลวงของนครหลวงพนมเปญด้วย ครั้งหนึ่งเคยได้ชื่อว่า ไข่มุกแห่งเอเชีย (เมื่อคริสต์ทศวรรษ 1920 พร้อมกับเมืองเสียมราฐ) นับเป็นเมืองที่เป็นเป้าการท่องเที่ยวทั้งจากผู้คนในประเทศ และจากต่างประเทศ[ต้องการอ้างอิง] พนมเปญยังมีชื่อเสียงในฐานะที่มีสถาปัตยกรรมแบบเขมรดั้งเดิม[ต้องการอ้างอิง] และแบบได้รับอิทธิพลฝรั่งเศส และผู้คนมีอัธยาศัยดี[ต้องการอ้างอิง]

    กรุงพนมเปญ เป็นเมืองที่ล้อมรอบด้วยจังหวัดกันดาล และเป็นเมืองศูนย์กลางการค้า การเมือง และวัฒนธรรมของกัมพูชา มีประชากรถึง 2 ล้านคน จากประชากรทั้งประเทศ 15.2 ล้านคน



แผนที่ของประเทศกัมพูชา



วันจันทร์ที่ 4 มกราคม พ.ศ. 2559

เพลงประจำชาติกัมพูชา

   



เพลงชาติกัมพูชา

เพลงชาติ : เพลงนครราช (Nokoreach)  
แปลว่า    : “เมืองของพระเจ้าแผ่นดิน”


เนื้อเพลงชาติกัมพูชา

โซม ปวก เตฝดา

เรียกซา มฮา กสัต เยิง

ออย บาน รุง เรือง

ดอย เจ็ย ม็องก็อล เซเร็ย ซัวสเด็ย

เยิง ขญม เปรียะฮ์ ออง

โซม ซรก กรอม มลุป

เปรียะฮ์ บารอเม็ย

เน็ย เปรียะฮ์ นอรอบอเด็ย

ว็อง กสัตรา แดล ซาง

ปราสาต ถมอ

กรุป กรอง แดน ขแม็ย

โบะราน ทเกิง ทกานฯ

คำแปลเพลงชาติกัมพูชา

ขอพวกเทวดา

รักษามหากษัตริย์เรา
ให้ได้รุ่งเรือง
โดยชัยมงคลศรีสวัสดี
เหล่าข้าพระองค์
ขอพำนักใต้ร่ม

พระบารมี
ในพระนรบดี
วงศ์กษัตราซึ่งสร้าง

ปราสาทหิน
ครอบครองแดนเขมร

บุราณเลื่องลือ ฯ